ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมาของตำรวจภูธรภาค 9 ปี พ.ศ.2469 ในรัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็นจังหวัด และคุมกองบังคับการตำรวจภูธรมณฑลสุราษฎร์ธานี และโอนกิจการมาขึ้นกับมณฑลนครศรีธรรมราช ปี พ.ศ.2474 ในสมัยรัชกาลที่ 7 ได้ยุบมณฑลปัตตานีไปขึ้นกับมณฑลนครศรีธรรมราช คุมจังหวัดปัตตานีให้ขึ้นกับจังหวัดปัตตานี |
||
ปี พ.ศ.2475 หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว ได้ยุบเลิกกองบังคับการตำรวจภูธรมณฑลนครศรีธรรมราช และตั้งกองบังคับการตำรวจภูธรภาคใต้ขึ้นแทน เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ.2475 โดยแบ่งเขตรับผิดชอบออกเป็น 4 สาย ปี พ.ศ.2481 สมัยรัชกาลที่ 8 ได้มีการยกเลิกกองกำกับสายทั้งหมด ตั้งกองบังคับการตำรวจภูธรขึ้นที่จังหวัดสงขลาเรียกว่ากองบังคับการตำรวจภูธรเขต 9 มีจังหวัดในปกครองคือ สงขลา สตูล พัทลุง ตรัง ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ปี พ.ศ.2484 ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบให้ทางสำนักงานและกรมในกระทรวงมหาดไทย ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับตำรวจ ตั้งกองบังคับการตำรวจภูธรเขต 9 มีจังหวัดในปกครอง คือ สงขลา สตูล พัทลุง ตรัง ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ปี พ.ศ.2490 ในรัชกาลที่ 9 ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมตำรวจ ในกระทรวงมหาดไทย เปลี่ยนกองบังคับการตำรวจภูธรเขต 9 เป็นกองบังคับการตำรวจภูธรภาค 9 มีพื้นที่รับผิดชอบเช่นเดิม ปี พ.ศ.2503 ได้มีการจัดตั้งกองบังคับการต่างๆ ขึ้นใหม่ รวมทั้งกองบังคับการตำรวจภูธร ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 กองบังคับการ และยกเลิกกองบังคับการตำรวจภูธร ซึ่งแต่เดิมเรียกว่า “ภาค” เปลี่ยนเป็น “เขต” เช่นเดิมอีก ปี พ.ศ.2508 ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ แบ่งกองบัญชาการตำรวจภูธรออกเป็น 2 กองบัญชาการ และมีกองบังคับการตำรวจภูธรเขต 9 เขต ตามเดิม ปี พ.ศ.2515 โดยประกาศคณะปฎิวัติ ได้จัดตั้งกองบัญชาการตำรวจภูธร 1 – 4 ขึ้นแทนกองบัญชาการตำรวจภูธรตามเดิม และยุบกองบังคับการตำรวจภูธรเขต 1 – 9 สำหรับกองบัญชาการตำรวจภูธร 4 ตั้งอยู่ที่จังหวัดสงขลา มีอำนาจรับผิดชอบปกครองบังคับบัญชาตำรวจภูธร 14 จังหวัดภาคใต้ ซึ่งเป็นพื้นที่กองบังคับการตำรวจภูธรเขต 8 – 9 เดิม ปี พ.ศ.2519 โดยคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ได้จัดตั้งกองบังคับการ 1-12 ขึ้น ในกองบัญชาการตำรวจภูธร 1-4 ทำให้สายการบังคับบัญชาของตำรวจภูธรจังหวัดที่เคยขึ้นตรงกับกองบัญชาการตำรวจภูธร เปลี่ยนไปขึ้นต่อกองบังคับการดังกล่าว และกองบังคับการ 10 – 12 ขึ้นต่อกองบัญชาการตำรวจภูธร 4 ปี พ.ศ.2537ได้ยุบเลิกกองบัญชาการตำรวจภูธร 1 – 4 โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย จัดตั้งกองบังคับการอำนวยการตำรวจภูธรภาค 1 – 9 และกองกำกับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภาค 1 – 9 ให้ทำหน้าที่ด้านอำนวยการและสนับสนุนกำลังพลแก่ผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจที่รับมอบหมายจากอธิบดีกรมตำรวจทำหน้าที่หัวหน้าตำรวจภาค 1 – 9 และกองบัญชาการตำรวจภูธร 4 ก็ถูกแบ่งออกเป็นตำรวจภูธรภาค 8 และ ตำรวจภูธรภาค 9 โดยตำรวจภูธรภาค 9 รับผิดชอบควบคุมบังคับบัญชาพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง คือ สงขลา สตูล ตรัง พัทลุง ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ปี พ.ศ.2540 มีการเปลี่ยนแปลงผู้บังคับบัญชาของตำรวจภูธรภาคจากผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจที่รับมอบหมายจากอธิบดีกรมตำรวจทำหน้าที่หัวหน้าตำรวจภาค 1 – 9 แต่ผู้ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าหน่วย คือ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 – 9 ปี พ.ศ.2548 มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2548 โดยมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสำนักงานตำรวจแห่งชาติในภาพรวม ส่วนตำรวจภูธรภาค 9 มีโครงสร้างการจัดหน่วย ดังนี้ กองบังคับการอำนวยการตำรวจภูธรภาค 9 ตำรวจภูธรจังหวัดสงขลา สตูล ตรัง พัทลุง ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ศูนย์สืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 9 ( รอง ผบก.เป็น หน.) ศูนย์ความมั่นคงตำรวจภูธรภาค 9 (รอง ผบก.เป็น หน.) ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 9 ( ผกก.เป็น หน.) ปี พ.ศ.2552 มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2552 มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสำนักงานตำรวจแห่งชาติอีกครั้งหนึ่ง โดยแบ่งพื้นที่การปกครองของตำรวจภูธรจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส นอกจากนี้มีการปรับให้ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 9 ไปขึ้นการปกครองบังคับบัญชากับศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้(ผบช.ศชต.)เป็นผู้บังคับบัญชา ส่วนตำรวจภูธรภาค 9 มีพื้นที่ปกครองบังคับบัญชาเหลือเพียง 4 จังหวัด คือ ตำรวจภูธรจังหวัดสงขลา สตูล ตรัง และพัทลุง โดยมีการตั้งหน่วยในระดับกองบังคับการขึ้นใหม่คือ กองบังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 9(บก.สส.ภ.9) ปี พ.ศ.2560 พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสํานักงานตํารวจแห่งชาติ พ.ศ.2560 ให้ยุบรวม ศชต รวมกับ ภ.9 อีกครั้ง โดยแบ่งพื้นที่การปกครองของ ตำรวจภูธรภาค 9 มี 7 จังหวัด ประกอบด้วย สงขลา สตูล ตรัง พัทลุง ยะลา ปัตาานี และนราธิวาส และกองบังคับการสืบสวนสอบสวน 2 หน่วย คือ บก.สส.ภ.9 รับผิดชอบ 4 จังหวัดตอนบน และ บก.สส.จชต. รับผิดชอบ 3 จังหวัดตอนล่าง |